วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

จีน-หว่อ้ายหนี่


ฉันรักเธอ




我爱你

Wǒ ài nǐ
หว่อ อ้าย หนี่
ฉันรักเธอ

เยอรมัน - ไส้กรอก

วัวร์ส คือ ไส้กรอก



ไส้กรอก (อังกฤษSausage) มาจากคำภาษาลาตินว่าSalsus [1]หมายถึง "การเก็บรักษาเนื้อสัตว์โดยใช้เกลือ" หรือมาจากคำว่า Wurst ในภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึง "เนื้อสัตว์บดละเอียดผสมกับเกลือและเครื่องเทศ บรรจุลงในไส้" ดังนั้นกรรมวิธีในการผลิตไส้กรอกนั้นจึงถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารแบบหนึ่ง

จีน - ผิงกั่ว

ผิงกั่ว



ต้นแอปเปิล (อังกฤษappleชื่อวิทยาศาสตร์Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malusต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือMalus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์สกรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป

ญี่ปุ่น - อิจิโงะ

อิจิโงะ


สตรอว์เบอร์รี (อังกฤษ: strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สเปน-ฝากรัก


 
ภาษา สเปน อยากฝากรัก



ใกล้วันแห่งความรักอีกหนแล้ว คราวที่แล้วมีคนบ่น คิดว่าจะเจอหมีสอนคำศัพท์เกี่ยวกับความรักในภาษาสเปน จำได้ว่าสอนไปครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว แต่ไม่ใช่ช่วงวันแห่งความรัก อ้าว ไหน ๆ ก็เป็นช่วงเทศกาลแห่งความรัก ฉายซ้ำอีกทีก็ได้ โฮะ ๆๆ
ในภาษาสเปน ก็มีคำศัพท์เกี่ยวกับ ความรัก อยู่หลายคำให้เลือกใช้ รับรองหายเบื่อ ถ้าจำได้หมด กรั๊ก

Mándale recuerdos míos.
ม๊านดาเล รีก๊วยรโด่ส มิโอ่ส
ฝากรักไปให้เขาด้วยนะจ๊ะ

เกาหลี-แฟน

                           เรียนรู้ภาษาเกาหลี                        
                  "남자진구 (นัมจาชินกู)                 
           และ 여자진구 (ยอจาชินกู)"        


                        "여친" ยอชิน ย่อมาจาก   "여자친구" ยอจาชินกู  แปลว่า แฟนสาว                           
                       "남친" นัมชิน ย่อมาจาก   "남자친구" นัมจาชินกู   แปลว่า แฟนหนุ่ม                         

ทั้ง2คำนี้เป็นศัพท์วัยรุ่นนะจ้ะ

ฝากเพจของเราไว้ติดตามกันด้วยน้า

v
v





ไทย-สวัสดี

คำว่า สวัสดี ในภาษาไทย
มีความหมายอย่างไร ?




สวัสดี เป็นคำทักทายของคนไทย โดยจะใช้เมื่อแรกพบกัน หรือ เมื่อต้องการบอกลา 

โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "สวัสดี (สวัสดิ์) "ว่าหมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย
ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยพิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ"     ในภาษาบาลี หรือ "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต โดยได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น หลังจากนั้น                   ในปีพ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม เป็นต้นมา
"สวัสดี" เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า "สุ" เป็นคำอุปสรรค (คำเติมหน้าศัพท์ที่ทำให้ความหมายของศัพท์เปลี่ยนแปลงไป) แปลว่า ดี งาม หรือ ง่าย และคำว่า "อสฺติ" เป็นคำกิริยาแปลว่า มี แผลงคำว่า "สุ" เป็น "สว" (สฺวะ) ได้โดยเอา "อุ" เป็น "โอ" เอา "โอ" เป็น "สฺว" ตามหลักไวยากรณ์ แล้วสนธิกับคำว่า "อสฺติ" เป็น "สวสฺติ" อ่านว่า   สะ-วัด-ติ แปลว่า "ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน) "
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า "สวสฺติ" ที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น "สวัสดี" ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดี ๆ ต่อกันของคนไทย ส่วนคำว่า "ราตรีสวัสดิ์" ซึ่งเป็นคำแปลจากคำว่า "good night" ซึ่งเป็นคำลาในภาษาอังกฤษ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่นกัน โดยกำหนดให้คนไทยทักกันตอนเช้าว่า "อรุณสวัสดิ์" มาจากคำว่า           "good morning" และให้ทักกันในตอนบ่ายว่า "ทิวาสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good afternoon" ส่วนตอนเย็นให้ทักกันว่า "สายัณห์สวัสดิ์" มาจากคำว่า "good evening" แต่เนื่องจากต้องเปลี่ยนไปตามเวลา จึงไม่เป็นที่นิยม คนไทยนิยมใช้คำว่า "สวัสดี" มากกว่า เพราะใช้ได้ตลอดเวลา แต่กระนั้น คนไทยก็ยังคงใช้อยู่บ้างบางคำคือ คำว่า อรุณสวัสดิ์ และราตรีสวัสดิ์
คำว่าสวัสดีนั้นจะทำหน้าที่ทั้งการทักทาย และอวยพรไปในคราวเดียวกัน และเมื่อเรากล่าวคำว่าสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่ บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้นมาจากใจของผู้ไหว้
ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่าสวัสดีพร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลต่อทั้งตัวผู้พูดและผู้ฟัง และยังสามารถเพิ่มเสน่ห์ในตัวบุคคลได้อีกด้วย